ประวัติพ่อเดช คุณพี่หมื่นสุนทรเทวา ผู้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ (โดยละเอียด) - Nagahora

Post Top Ad

Responsive Ads Here

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประวัติพ่อเดช คุณพี่หมื่นสุนทรเทวา ผู้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ (โดยละเอียด)

หลายคนอาจจะยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวละครเอกอย่าง พ่อเดช หรือ หมื่นสุนทรเทวา ซึ่งภายหลังได้อวยยศขึ้นเป็น ขุนศรีวิสารวาจา ในสมัยของสมเด็จพระนารายร์มหาราช

คุณพี่หมื่น หรือหมื่นสุนทรเทวา ที่รับบทโดย โป๊ป-ธนวรรธน์ นั้นมีตัวตนอยู่จริงตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยจากละครที่กำลังโด่งดังในขณะนี้ “บุพเพสันนิวาส” ที่บอกเล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งอยู่ใน พ.ศ. 2174/2175 – 2231; ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และในละครเรื่องนี้ มีการพูดถึงตัวละครสำคัญอย่างหมื่นสุนทรเทวา พระเอกของเรื่องนี้ ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่จริงในประวัติศาสตร์ไทย

หมื่นสุนทรเทวา เป็นบุตรชายของ ออกญาโหราธิบดี เป็นนักกวีชาวเมืองโอฆะบุรีหรือชาวเมืองพิจิตร ได้เข้ารับราชการมาตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านโหราศาสตร์ การทำนายดวงชะตาการพยากรณ์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญ เป็นผู้นิพนธ์หนังสือ “จินดามณี” ซึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย โดยมีการสอดแทรกคำสั่งสอนต่างๆประกอบไว้ ในปี พ.ศ.2215 สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ลักษณะการประพันธ์จะแต่งเป็นร้อยแก้ว มีตัวอย่างเป็นคำประพันธ์ชนิดต่างๆ เช่น ร่าย โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ประกอบ มีเนื้อหาครอบคลุม สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ เป็นต้นแบบของ แบบเรียนในปัจจุบัน

นอกจากนี้ครอบครัวของหมื่นสุนทรเทวา ในประวัติศาสตร์อีกหลายคนก็มีตัวตนอยู่จริงเช่นกัน อย่างเช่น ศรีปราชญ์น้องชายของหมื่นสุนทรเทวา สันนิษฐานว่า ศรีปราชญ์ เกิดในปี พ.ศ.2196 หรือ 3 ปี หลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นกวีเอกคนหนึ่งของไทยในสมัยพระนารายณ์มหาราช เข้ารับราชการตั้งแต่อายุ 9 ขวบและได้เป็นกวีเอกของพระนารายณ์

ด้วยความสามารถที่เก่งกาจ ทำให้มีผู้คิดปองร้าย ถูกใส่ความจนถูกตัดสินโทษให้ประหารชีวิต ในขณะที่ถูกประหารนั้นศรีปราชญ์มีอายุประมาณ 30 หรือ 35 ปีผลงานชิ้นสำคัญ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าใช้ถ้อยคำสำนวนคมคาย เป็นแบบฉบับของวรรณคดีประเภทโคลงดั้น และอนิรุทธ์คำฉันท์ ลักษณะบทประพันธ์เป็นฉันท์และกาพย์

ศรีปราชญ์แต่งเรื่องนี้เพื่อแสดงความสามารถในการแต่งฉันท์ เพราะถูกประมาทว่าแต่งได้แต่โคลง บ้างก็บอกว่าศรีปราชญ์แต่งเพื่อแก้หน้าให้บิดา คือ พระมหาราชครู (ออกญาโหราธิบดี) แต่งสมุทรโฆษคำฉันท์ไม่จบ จึงแต่งอนิรุทธ์คำฉันท์ที่มีเนื้อเรื่องคล้ายกันให้จบ

หมื่นสุนทรเทวา ที่ภายหลังได้เลื่อนยศเป็น ขุนศรีวิสารวาจา(ตำแหน่งขุนศรี หมายถึงมีลักษณะเป็นชั้นยศ โดยแบ่งออกเป็น 9 ชั้น แต่ตำแหน่งขุน อยู่ในระดับ 3-4 เทียบได้กับบรรดาศักดิ์ชั้น “ขุน” เป็นข้าราชการสัญญาบัตร ) ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญทางการทูตและได้ร่วมอยู่ในคณะทูตที่ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2229 โดยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14ได้นำ เหรียญที่ระลึก และมีการเขียนรูปราชทูตไทยเข้าเฝ้า ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ให้เป็นที่ระลึกด้วย

ส่วน การอวยยศ นั้น หมายถึง การทำผลงาน หรือการแสดงความยินดี ให้แก่ข้าราชการในสมัยนั้น เสือนกพิธีการแต่งตั้ง ในที่นี้ หมื่นสุนทรเทวา ได้อวยยสเป็น ขุนศรีวิสารวาจา ซึ่งเป็นตรีทูต 1 (ตรีทูต คือ ทูตลำดับที่ 3ในคณะทูต รองจาก ราชทูต และ อุปทูต)ใน 3 ของคณะทูตจากกรุงศรีอยุธยาที่ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เมื่อปี พ.ศ. 2229 ในขณะนั้น คณะทูตที่ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส ได้แก่ ออกพระวิสุทธสุนทร เป็นราชทูต ออกหลวงกัลยาราชไมตรี เป็นอุปทูต และออกขุนศรีวิสารวาจา เป็นตรีทูต(คำว่า ออก ที่เติมไว้ข้างหน้า คือ บรรดาศักดิ์สมัยโบราณนั้น เช่น ออกญา ออกขุน ออกหลวง นั้น มักเป็นคำแสดงความอาวุโสในบรรดาศักดิ์นั้น แต่ยังไม่ได้เลื่อนขึ้นไปยังบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า ) และมีขุนนางติดตามไปอีกจำนวนหนึ่งด้วย

ภาพของเส้นทางเดินทางของชาวตะวันตกมาสู่เมืองละโว้ หรือลพบุรีในสมัยอยุธยา จากเมือง Brest ในแคว้น Brittany ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งตะวันออกสุดของฝรั่งเศส มายังประเทศไทยและจากไทยเดินทางไปฝรั่งเศส (การเดินทางในสมัยนั้นมักจะใช้เป็นเรือกำปั่น) เพื่อที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ปารีส

ภาพจดหมายฉบับจริง ที่ท่านโกษาปาน เขียนถึงหมื่นสุนทรเทวา หรือขุนศรีวิสารวาจา เมื่อไปฝรั่งเศส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here